5 มี.ค. 2556

ข้อมูลทั่วไปสนามบินกระบี่

ข้อมูลทั่วไปสนามบินกระบี่

ลองติจูด: 98° 59' 6'' E
ละติจูด: 8° 5' 59'' N
รหัส IATA: KBV
รหัส ICAO: VTSG

             ท่าอากาศยานกระบี่ เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2526 โดยภาคเอกชนและเทศบาลเมืองกระบี่ ได้ร่วมลงทุนก่อสร้างสนามบินขนาดเล็กจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2529 เปิดให้บริการการบินด้วยเครื่องบินขนาด 18 ที่นั่ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงมอบสนามบินให้กับกรมการขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม พัฒนาให้เป็นสนามบินได้มาตรฐาน เพื่อให้การเดินทางสู่จังหวัดกระบี่ มีความสะดวกสบายและรวดเร็วยิ่งขึ้น และเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ ตลอดจนให้มีการขยายตัวของธุรกิจ ภายในจังหวัดกระบี่มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น
       


ดู ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

     รัฐบาลได้มีมติให้กรมการขนส่งทางอากาศ สำรวจออกแบบ จัดซื้อที่ดิน และดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานกระบี่ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2536 เป็นต้นมา ท่าอากาศยานกระบี่เป็นสนามบินที่มีเที่ยวบินมากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 ของกรมการขนส่งทางอากาศ


ประกาศกระทรวงคมนาคม 
เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินกระบี่ ในท้องที่ 
อำเภอเมืองกระบี่ และอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ 
เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. 2542 
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ 

ข้อ 1 ให้เขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินกระบี่ ในท้องที่ตำบลทับปริก ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมืองกระบี่ และตำบลห้วยยูง ตำบลเหนือคลอง ตำบลปกาไสย ตำบลคลองเขม้า ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ภายในแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 

นายอิทธิ ศิริลัทธยากร  
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 
ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม




สนามบินกระบี่

ข้อมูลแสดงลักษณะทางภายภาพของท่าอากาศยานกระบี่


ข้อมูลพื้นฐาน

         ท่าอากาศยานกระบี่ มีทางวิ่งเส้นทางเดียว ขนาดความยาว 3,000 เมตร กว้าง 45 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.50 เมตร ทางขับขนาดยาว 320 เมตร กว้าง 23 เมตร และ ขนาดยาว 43 เมตร กว้าง 23 เมตร ผิวแอสฟัลติกคอนกรีต และลานจอดเครื่องบิน ขนาดยาว 200 เมตรกว้าง 85 เมตร ผิวคอนกรีต พร้อมระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้แก่ ระบบไฟฟ้า ระบบโทรศัพท์ ระบบประปา ระบบระบายน้ำภายในสนามบิน ลานจอดรถยนต์


บริเวรลานจอดรถสนามบินกระบี่ สามารถรองรับปริมาณรถได้ถึง 200 คัน


(คลิ๊กภาพ เพื่อดูภาพขนาดใหญ่)



ป้ายบอกทางเข้าอาคารผู้โดยสาร Terminal 1,2  
  • Terminal 1 อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ 
  • Terminal 2 อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ

มุมมองลานจองเครื่องบิน บริเวรอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ Terminal 1 


เครื่องบินจากสายการบิน Tiger air (บินตรงจากสิงคโปร์) ตรวจสอบตารางบินกระบี่

         ปริมาณการจราจรทางอากาศ ณ ท่าอากาศยานกระบี่ ได้เพิ่มขึ้น  อย่างรวดเร็ว  ในปี 2550 จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 855,602 คน และอีก 5-7 ปีข้างหน้า (ปี 2555 – 2557) จะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น  2.50 ล้านคนต่อปี  มีปริมาณสินค้าเพิ่มขึ้นเป็น 2,300 ตันต่อปี  และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการ  พัฒนาท่าอากาศยานกระบี่  เพื่อให้สามารถรองรับการเจริญเติบโตของ   ปริมาณการจราจรในอนาคตให้มีความสะดวกและได้มาตรฐานสากล

       ลานจอดเครื่องบินกระบี่ สามารถจอดอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ เช่น Boeing 747 ได้ 4 ลำ และ Boeing 737 ได้ 6 ลำ  และอาคารที่พักผู้โดยสารทั้งสองหลัง  สามารถรองรับผู้โดยสารภายในประเทศและระหว่างประเทศที่มี ปริมาณเพิ่มมากขึ้น 3.6 ล้านคนต่อปี ในอนาคต

-ที่มา wikipedia.org

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรงแรม ที่พัก กระบี่